Past Simple Tense
หายไปสองสัปดาห์นะครับ ต้องขออภัยอย่างแรงด้วย คือต้องทำธุระวันเสาร์อาทิตย์ด้วย เลยไม่มีเวลามาเขียนให้อ่านกัน เริ่มเลยดีกว่านะครับ
Past แปลว่า ผ่านมาแล้ว จริงๆแล้ว past simple tense เนี่ย ใช้ไม่ยากหรอกครับว่าจะใช้ตอนไหน ก็ใช้กับสิ่งที่ทำมาแล้วไงครับ (ตอบเหมือนกำปั้นทุบดินเลย) จริงๆนะครับ คือส่วนใหญ่แล้ว มันไม่ยาก เวลาพูดหรือเวลาใช้ภาษาอังกฤษเนี่ย ให้เราคิดว่า สิ่งนั้นมันเกิดขึ้นหรือยัง ถ้าเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ให้ใช้ past simple tense ไปเลย (เพราะส่วนใหญ่เวลาพูดกันเนี่ย ไม่ค่อยใช้ past กันหรอกครับ ใช้ present กันหน้าตาเฉย ฝรั่งบางครั้งเลยงงว่า ตกลงมันเกิดขึ้นหรือยังฟะ)
I go to the temple (Present) ฉันไปวัด (อันนี้ไม่ได้เจาะจง)
I went to the temple. ฉันไปวัด (ไปมาแล้ว)
ว่าไงครับ เข้าใจง่ายกว่ากันเยอะ หรือจะให้เจาะจงขึ้นไปอีก ก็เติม adverb of time เข้าไปอีก (คำกริยาวิเศษณ์บอกเวลาไงครับ ขยายคำกริยาว่า ทำเมื่อไหร่)
I went to the temple last week. ฉันไปวัดเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
I know what you did last summer. (คุ้นๆ นะเนี่ย)
สรุป สรุป สรุป การใช้ past simple tense ในกรณีที่
1) บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว
2) เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้ว, เล่านิทาน, นิยาย, เทพนิยายอะไรก็แล้วแต่ ใช้ รูปอดีตครับผม
รูปของ Past Simple Tense คือ ประธาน + กริยาช่องที่สอง
ง่ายใช่ไหม ( a piece of cake แปลว่า ง่ายมั่กๆ อันนี้คนไทยใช้หมู ฝรั่งใช้เค้ก)
แต่ในความง่าย ก็มีความยากแฝงอยู่ คือ กริยาช่องที่สองนี่แหละครับ จะทำไง พกกริยาสามช่องนี่แหละครับ เล่มเล็กๆ ไม่กี่บาทก็มี พกติดตัวไปเลยครับ ถ้าอยากเก่งอังกฤษ ก็ท่องวันละคำสองคำ ปีนึงก็จำได้หมด (อยู่ที่ความพยายามและความมีวินัยครับ) จากเรื่องยากก็เป็นเรื่องง่ายไป
กฎของการเปลี่ยนกริยาก็มีอยู่บ้าง แต่ไม่ตายตัว ก็ต้องศึกษากันไปครับ
Future Tense
อนาคต อันนี้ง่ายเข้าไปใหญ่ ไม่ต้องไปสนใจกริยาช่องไหนๆ ด้วย ใช้เมื่อเราจะทำอะไร (จะ จะ จะ จะ จะ)
ก็ใส่ไปเลย will + กริยาช่องที่ 1 (จริงๆแล้วไม่ใช่กริยาช่องที่ 1 นะครับ แต่เป็น infinitive คือกริยาที่ไม่ผันตามประธาน อันนี้จะกล่าวถึุงทีหลังดีกว่านะครับ)
ฉันจะไป I will go.
เขาจะมา He will come.
สมัยก่อนที่ผมเรียนตอนประถม จะต้องมีการแยกว่า ประธานตัวไหนใช้ will ตัวไหนใช้ shall แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้วครับ ใช้ will ให้หมด ส่วนใหญ่แล้ว shall จะใช้กับประโยคชักชวนหรือพูดให้ดูสุภาพมากกว่า
มีอยู่นิดนึง.. ถ้าเรากำลังจะทำแล้ว (คือกำลังจะทำน่ะ................จะพูดยังไงดี) คือเวลาใช้ will เนี่ย ระยะเวลามันไกลกว่าในปัจจุบันสักระยะหนึ่ง คือ จะทำพรุ่งนี้ ปีหน้า หรือเย็นนี้ ชาติหน้า อะไรยังเงี้ย..
ถ้าถ้าเรากำลังจะทำเดี๋ยวนี้แล้ว (คือ ไม่ใช่ จะ แต่ กำลังจะ) ให้ใช้ รูปนี้ครับ
ประธาน + V.to be + going to + infinitive
เช่น ฉันกำลังจะทำการบ้าน I am going to do my homework (อย่าไปแปลว่าฉันกำลังไปทำการบ้านเชียวนะครับ going to ตัวนี้ ไม่ใช่แปลว่ากำลังไป แต่แปลว่า กำลังจะ)
หรือบางทีก็ใส่อย่างนี้เลยครับ I'm doing my homework ก็ใช้ได้เหมือนกัน
หมดเวลาแล้วครับ จะต้องทำงานต่อ ขอบคุณที่ทนอ่านกันนะครับ แล้วเจอกันใหม่
***********************************************
วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552
เรื่องของTense กาล, เวลา
หลังจากเบี้ยวมาสองสัปดาห์ครับ ...แฮ่ะ
มาเข้าเรื่อง Tense กันตามสัญญา (ที่ล่าช้า) กันแล้วกันนะ
ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียนในภาษาอังกฤษ Tense หรือ เรื่อง เวลา "กาล" เป็นเรื่องสำำคัญทีเดียว ต้องให้ความสำคัญกับมันหน่อยนะครับ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน
ยกตัวอย่างนะครับ เขาตีแมว
He runs. เขาวิ่ง (ไม่ได้ระบุเวลา แต่รู้ว่าเขาวิ่ง อาจวิ่งเป็นประจำ) เป็น present tense
He ran เขาวิ่ง (เขาวิ่งไปแล้ว คือ วิ่งไปไหนแล้วก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าวิ่งไปแล้ว ..งงมั๊ย) เป็น past tense
He is running (กขากำลังวิ่งอยู่เลย)
He will run. (เขาจะวิ่ง แต่ยังไม่ได้วิ่ง)
เอาแค่นี้พอ.... ถ้าเราพูดคำว่า He runs อย่างเดียว จะไม่สามารถบอกได้เลยว่า เขาทำมันตอนไหน สำคัญใช่ไหมครับ
Tense ในภาษาอังกฤษ มีมากกว่า 6 Tense หลักๆ ที่เราเรียนกันอยู่คือ present tense (ปัจจุบัน) past tense (อดีต) future tense (อนาคต) present continuous tense ( กำลังกระทำอยู่) present continuous tense, past continuous tense โอย..เยอะแยะตาแป๊ะเก็บเห็ด.....
ในการเรียนการสอน.. เราต้องจำให้หมด (แค่ 6 tense ก็ปวดเฮดแล้วครับ ไม่ถึงต้องจำเยอะกว่านั้นร๊อก) แต่ในการพูดจริงๆ หลักๆนะครับ จำแค่ 4 tense ก็พอคือ (แต่ถ้าเอาไว้สอบ ก็ต้องจำให้มันเยอะๆ)
1. Present Tense ปัจจุบันกาล
2. Past Tense อดีตกาล
3. Future Tense อนาคตกาล
4. Present Continuous Tense กาลที่กำลังกระทำอยู่
อันนี้ต้องทยอยพูดถึงที่ละอย่างนะครับ ขืนบอกหมดในทีเดียว คงได้หัวโตกันมั่ง......................
Present Simple Tense ใช้ยังไง
(อ้าว.. เพิ่ม simple มาได้ยังไง จริงๆแล้วมันเป็นสาขาย่อยของ Present Tense น่ะครับ ในที่นี้ให้เข้าใจเอาว่า เป็น Present Simple Tense ก็แล้วกันนะครับ)
Present Tense ใช้ง่ายครับ (อ้าว.. ตอบแบบกำปั้นทุบดินนี่หว่า) เป็นปัจจุบันกาลใช้กับ
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ
3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติ
4. เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น...ง่า... นึกไม่ออกครับ เอาไว้ถ้านึกได้แล้วจะมาบอก
5. เอาง่ายๆคือ มันไม่ใช่อดีต หรืออนาคต หรือกำลังกระทำอยู่ ก็ใช้ Present Simple Tense แล้วกัน
จำได้แล้วว่า ใช้ยังไงก็ค่อยมาจำรูปแบบของมันนะครับ
ประธาน + กริยาช่องที่ 1 ง่ายสุดเลยใช่ไหมเล่า
ที่นี้ มันก็ไปสัมพันธ์กับประธานนะครับ จำเป็นมากๆ คือ
ประธานเอกพจน์ (หน่วยเดียว) กริยาเติม S
ประธานพหูพจน์ (หลายหน่วย) กริยาไม่ต้องเติม S
แค่นั้นเอง (จริงๆแล้ว คิดว่าคงเรียนมาแล้วล่ะครับ แต่เน้นเพื่อความเข้าใจอีกที คือเรียนมาแต่ไม่ได้ใช้ไง พอเวลาพูดหรือเขียน จะมีสักกี่คนใส่ใจเติม S ที่กริยาเอกพจน์)
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และทำอย่างสม่ำเสมอ
เช่น He goes to school. แปลว่าเขาไปโรงเรียน (ทีนี้ เราจะใ่ส่คำว่า every day หรือ always เข้าไปในประโยคเพื่อเน้นก็แล้วแต่ แต่ให้รู้ว่าเขาไปโรงเรียนแล้วกัน)
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
เช่น The sun rises at 6.00 am.
พระอาทิตย์ขึ้นทุกวัน The wind blows ลมพัด มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเราก็พูดลอยๆ เหตุการณ์เหล่านี้จึงใช้เป็น Present Simple Tense ได้ครับ
มันมีคำที่บ่งบอกว่า ประโยคนี้เป็นการกระทำโดยสม่ำเสมอ โดยเติมไปในประโยค ทำให้รู้ว่าประโยคนี้ต้องเป็น present simple แหง๋ๆ
คำนั้นทำหน้าที่เป็น Adverb of Frequency ครับ เช่น always (เสมอๆ) sometimes (บางครั้ง)
หรือ ทำหน้าที่เป็น Adverb of Time เช่น every day, every month, every year ซึ่งตรงนี้ผมยังไม่เน้นนะครับ เดี๋ยวจะงงหนักไปกันใหญ่ เอาง่ายๆแค่นี้ก่อน
อาทิตย์หน้ามาต่อเรื่อง past tense กันครับ
*************************************************************
มาเข้าเรื่อง Tense กันตามสัญญา (ที่ล่าช้า) กันแล้วกันนะ
ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียนในภาษาอังกฤษ Tense หรือ เรื่อง เวลา "กาล" เป็นเรื่องสำำคัญทีเดียว ต้องให้ความสำคัญกับมันหน่อยนะครับ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน
ยกตัวอย่างนะครับ เขาตีแมว
He runs. เขาวิ่ง (ไม่ได้ระบุเวลา แต่รู้ว่าเขาวิ่ง อาจวิ่งเป็นประจำ) เป็น present tense
He ran เขาวิ่ง (เขาวิ่งไปแล้ว คือ วิ่งไปไหนแล้วก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าวิ่งไปแล้ว ..งงมั๊ย) เป็น past tense
He is running (กขากำลังวิ่งอยู่เลย)
He will run. (เขาจะวิ่ง แต่ยังไม่ได้วิ่ง)
เอาแค่นี้พอ.... ถ้าเราพูดคำว่า He runs อย่างเดียว จะไม่สามารถบอกได้เลยว่า เขาทำมันตอนไหน สำคัญใช่ไหมครับ
Tense ในภาษาอังกฤษ มีมากกว่า 6 Tense หลักๆ ที่เราเรียนกันอยู่คือ present tense (ปัจจุบัน) past tense (อดีต) future tense (อนาคต) present continuous tense ( กำลังกระทำอยู่) present continuous tense, past continuous tense โอย..เยอะแยะตาแป๊ะเก็บเห็ด.....
ในการเรียนการสอน.. เราต้องจำให้หมด (แค่ 6 tense ก็ปวดเฮดแล้วครับ ไม่ถึงต้องจำเยอะกว่านั้นร๊อก) แต่ในการพูดจริงๆ หลักๆนะครับ จำแค่ 4 tense ก็พอคือ (แต่ถ้าเอาไว้สอบ ก็ต้องจำให้มันเยอะๆ)
1. Present Tense ปัจจุบันกาล
2. Past Tense อดีตกาล
3. Future Tense อนาคตกาล
4. Present Continuous Tense กาลที่กำลังกระทำอยู่
อันนี้ต้องทยอยพูดถึงที่ละอย่างนะครับ ขืนบอกหมดในทีเดียว คงได้หัวโตกันมั่ง......................
Present Simple Tense ใช้ยังไง
(อ้าว.. เพิ่ม simple มาได้ยังไง จริงๆแล้วมันเป็นสาขาย่อยของ Present Tense น่ะครับ ในที่นี้ให้เข้าใจเอาว่า เป็น Present Simple Tense ก็แล้วกันนะครับ)
Present Tense ใช้ง่ายครับ (อ้าว.. ตอบแบบกำปั้นทุบดินนี่หว่า) เป็นปัจจุบันกาลใช้กับ
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ
3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติ
4. เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น...ง่า... นึกไม่ออกครับ เอาไว้ถ้านึกได้แล้วจะมาบอก
5. เอาง่ายๆคือ มันไม่ใช่อดีต หรืออนาคต หรือกำลังกระทำอยู่ ก็ใช้ Present Simple Tense แล้วกัน
จำได้แล้วว่า ใช้ยังไงก็ค่อยมาจำรูปแบบของมันนะครับ
ประธาน + กริยาช่องที่ 1 ง่ายสุดเลยใช่ไหมเล่า
ที่นี้ มันก็ไปสัมพันธ์กับประธานนะครับ จำเป็นมากๆ คือ
ประธานเอกพจน์ (หน่วยเดียว) กริยาเติม S
ประธานพหูพจน์ (หลายหน่วย) กริยาไม่ต้องเติม S
แค่นั้นเอง (จริงๆแล้ว คิดว่าคงเรียนมาแล้วล่ะครับ แต่เน้นเพื่อความเข้าใจอีกที คือเรียนมาแต่ไม่ได้ใช้ไง พอเวลาพูดหรือเขียน จะมีสักกี่คนใส่ใจเติม S ที่กริยาเอกพจน์)
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และทำอย่างสม่ำเสมอ
เช่น He goes to school. แปลว่าเขาไปโรงเรียน (ทีนี้ เราจะใ่ส่คำว่า every day หรือ always เข้าไปในประโยคเพื่อเน้นก็แล้วแต่ แต่ให้รู้ว่าเขาไปโรงเรียนแล้วกัน)
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
เช่น The sun rises at 6.00 am.
พระอาทิตย์ขึ้นทุกวัน The wind blows ลมพัด มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเราก็พูดลอยๆ เหตุการณ์เหล่านี้จึงใช้เป็น Present Simple Tense ได้ครับ
มันมีคำที่บ่งบอกว่า ประโยคนี้เป็นการกระทำโดยสม่ำเสมอ โดยเติมไปในประโยค ทำให้รู้ว่าประโยคนี้ต้องเป็น present simple แหง๋ๆ
คำนั้นทำหน้าที่เป็น Adverb of Frequency ครับ เช่น always (เสมอๆ) sometimes (บางครั้ง)
หรือ ทำหน้าที่เป็น Adverb of Time เช่น every day, every month, every year ซึ่งตรงนี้ผมยังไม่เน้นนะครับ เดี๋ยวจะงงหนักไปกันใหญ่ เอาง่ายๆแค่นี้ก่อน
อาทิตย์หน้ามาต่อเรื่อง past tense กันครับ
*************************************************************
วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552
หน้าที่ของคำในภาษาอังกฤษ (ภาคต่อ)
5. คำสันธาน (conjuction) เป็นคำที่ใช้เชื่อมคำต่อคำ ประโยคต่อประโยค เช่น
and or but then so therefore etc. เป็นคำที่เติมเต็มประโยคให้สมบูรณ์
Jatuporn and Veera go shopping. จตุพรและวีระไปชอปปิ้งกัน (กระหนุงกระหนิง)
Do you want tea or coffee? คุณต้องการชาหรือกาแฟคะ
He has to go to the market, then he goes to the the bank. เขาต้องไปที่ตลาด แล้วเขาจึงไปที่สวนสัตว์
He works hard, so he is rich. เขาทำงานหนัก ดังนั้น เขาจึงรวย
คำที่เชื่อมคำต่อคำ อาจเป็นคำนามกับคำนาม ส่วนใหญ่จะใส่ conj. (สันธาน) ไว้ระหว่างคำเลย เช่น you and me, me or that girl.
แต่คำที่เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค มีบางคำที่จะต้องใส่ comma (,) ไว้คั่นประโยคด้วยนะครับ เป็นส่วนใหญ่
คำ conjunction (สันธาน) จะมีหลายคำครับ เช่น although, even though, because, since, when, while
เยอะแยะครับ แต่ก็ละไ้ว้ในฐานที่เข้าใจ
6. คำบุรพบท (preposition) คือ คำบอกสถานที่ เช่น in, on , under, to, inside, into, near (ง่ายไปไหมเนี่ย) ประมาณนี้ บางครั้ง คำบุรพบท (หรือบุพบทก็ไม่รู้ ถ้าผิดขออภัย) ก็ไม่ใช่คำบอกสถานที่อย่างเดียวนะครับ (อ้าว! กลับกลอกนี่หว่า) ง่ายๆ น่ะครับ คือ บอกสถานที่ แต่คำบุพบทนี้มีหน้าที่เยอะมาก มีทั้งหมดร้อยกว่าคำ (ใครจำได้ก็เก่ง)
โดยหลักๆ คำบุพบทคือบอกสถานที่และมีอีกอย่างคือ ตามหลังคำกริยา ไอ้ตัวนี่แหละครับ ที่ทำให้ปวดหัว ฝรั่งเขาเรียก phrasal verb (จริงๆเรียกกันทั่วโลก) เอาแค่ยกตัวอย่างก็มึนแล้ว
เช่น คำกริยา ว่า look แปลว่า มองดู ถ้าเติมคำบุพบทเหล่านี้เข้าไป ดูซิว่าเป็นยังไง
look into แปลว่า ตรวจอย่างละเอียด
look down ดูถูก ดูหมิ่น
look for ค้นหา
look out ระวัง
look after ดูแล
สรุปแล้ว ยังมีอีก 10 กว่าลุคนะครับ ขี้เกียจสาธยาย สรุปอีกที ถ้าเจอพวกนี้ ต้องอาศัย dictionary อย่างเดียวเลยครับ แต่ถ้าจะพกติดตัว dictionary ถ้าจะให้ละเอียดมันต้องพกอย่างพันกว่าหน้า หลังอานแน่ๆ เอาง่ายๆ จะไปไหนมาไหน พก dictionary เล่มเล็กๆ หนึ่งเล่ม หนังสือ phrasal verb หนึ่งเล่มและ กริยาสามช่อง อีกหนึ่งเล่ม จะเข้าท่ากว่า
อ่ะ สุดท้ายแล้ว
7. คำอุทาน ง่ายสุดแล้ว คืออุทานน่ะแหละ อุ๊ยตาย ว๊าย กรี๊ด โอว พระเจ้า อะไรทำนองเนี๊ย
well, แปลว่า เ้อ่อ หรือใช้สำหรับเปลี่ยนเรื่องพูด
oh หรือ Oh my god หรือ Oh my god หรือ Oh, my lord หรือ My goodness ก็ไม่ว่ากัน รู้ความหมายกันอยู่แล้วครับ
ก็หัดจำโดยการดูหนังฝรั่งหรือฟังข่าวฝรั่งเยอะๆ น่ะครับ ฝรั่งชอบอุทาน คนไทยก็เลยชอบอุทานตามฝรั่ง
หมดแล้วครับ เรื่องหน้าที่ของคำ วันหลังว่าจะเขียนเรื่อง tense น่ะครับ (ถ้าไม่เปลี่ยนใจซะก่อน) ถ้ามีสิ่งใดตกหล่นก็ขออภัย เพราะไม่ได้เขียนเป็นวิชาการน่ะครับ ถ้ามีอะไรจะเสริม ก็ค่อยมาเสริมวันหลังแล้วกัน
******************************************
and or but then so therefore etc. เป็นคำที่เติมเต็มประโยคให้สมบูรณ์
Jatuporn and Veera go shopping. จตุพรและวีระไปชอปปิ้งกัน (กระหนุงกระหนิง)
Do you want tea or coffee? คุณต้องการชาหรือกาแฟคะ
He has to go to the market, then he goes to the the bank. เขาต้องไปที่ตลาด แล้วเขาจึงไปที่สวนสัตว์
He works hard, so he is rich. เขาทำงานหนัก ดังนั้น เขาจึงรวย
คำที่เชื่อมคำต่อคำ อาจเป็นคำนามกับคำนาม ส่วนใหญ่จะใส่ conj. (สันธาน) ไว้ระหว่างคำเลย เช่น you and me, me or that girl.
แต่คำที่เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค มีบางคำที่จะต้องใส่ comma (,) ไว้คั่นประโยคด้วยนะครับ เป็นส่วนใหญ่
คำ conjunction (สันธาน) จะมีหลายคำครับ เช่น although, even though, because, since, when, while
เยอะแยะครับ แต่ก็ละไ้ว้ในฐานที่เข้าใจ
6. คำบุรพบท (preposition) คือ คำบอกสถานที่ เช่น in, on , under, to, inside, into, near (ง่ายไปไหมเนี่ย) ประมาณนี้ บางครั้ง คำบุรพบท (หรือบุพบทก็ไม่รู้ ถ้าผิดขออภัย) ก็ไม่ใช่คำบอกสถานที่อย่างเดียวนะครับ (อ้าว! กลับกลอกนี่หว่า) ง่ายๆ น่ะครับ คือ บอกสถานที่ แต่คำบุพบทนี้มีหน้าที่เยอะมาก มีทั้งหมดร้อยกว่าคำ (ใครจำได้ก็เก่ง)
โดยหลักๆ คำบุพบทคือบอกสถานที่และมีอีกอย่างคือ ตามหลังคำกริยา ไอ้ตัวนี่แหละครับ ที่ทำให้ปวดหัว ฝรั่งเขาเรียก phrasal verb (จริงๆเรียกกันทั่วโลก) เอาแค่ยกตัวอย่างก็มึนแล้ว
เช่น คำกริยา ว่า look แปลว่า มองดู ถ้าเติมคำบุพบทเหล่านี้เข้าไป ดูซิว่าเป็นยังไง
look into แปลว่า ตรวจอย่างละเอียด
look down ดูถูก ดูหมิ่น
look for ค้นหา
look out ระวัง
look after ดูแล
สรุปแล้ว ยังมีอีก 10 กว่าลุคนะครับ ขี้เกียจสาธยาย สรุปอีกที ถ้าเจอพวกนี้ ต้องอาศัย dictionary อย่างเดียวเลยครับ แต่ถ้าจะพกติดตัว dictionary ถ้าจะให้ละเอียดมันต้องพกอย่างพันกว่าหน้า หลังอานแน่ๆ เอาง่ายๆ จะไปไหนมาไหน พก dictionary เล่มเล็กๆ หนึ่งเล่ม หนังสือ phrasal verb หนึ่งเล่มและ กริยาสามช่อง อีกหนึ่งเล่ม จะเข้าท่ากว่า
อ่ะ สุดท้ายแล้ว
7. คำอุทาน ง่ายสุดแล้ว คืออุทานน่ะแหละ อุ๊ยตาย ว๊าย กรี๊ด โอว พระเจ้า อะไรทำนองเนี๊ย
well, แปลว่า เ้อ่อ หรือใช้สำหรับเปลี่ยนเรื่องพูด
oh หรือ Oh my god หรือ Oh my god หรือ Oh, my lord หรือ My goodness ก็ไม่ว่ากัน รู้ความหมายกันอยู่แล้วครับ
ก็หัดจำโดยการดูหนังฝรั่งหรือฟังข่าวฝรั่งเยอะๆ น่ะครับ ฝรั่งชอบอุทาน คนไทยก็เลยชอบอุทานตามฝรั่ง
หมดแล้วครับ เรื่องหน้าที่ของคำ วันหลังว่าจะเขียนเรื่อง tense น่ะครับ (ถ้าไม่เปลี่ยนใจซะก่อน) ถ้ามีสิ่งใดตกหล่นก็ขออภัย เพราะไม่ได้เขียนเป็นวิชาการน่ะครับ ถ้ามีอะไรจะเสริม ก็ค่อยมาเสริมวันหลังแล้วกัน
******************************************
วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
หน้าที่ของคำในภาษาอังกฤษ
หน้าที่ของคำในภาษาอังกฤษ (ภาค1)
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า เรื่องที่ผมเขียนอยู่นี้ ไม่ใช่เน้นตำราเท่าไหร่ เพราะการเน้นอย่างตำรา เราไปอ่านที่ไหนก็ได้ ทั้งในอินเตอร์เน็ตและในหนังสือ แต่ที่เขียนอยู่คือเน้นให้เข้าใจง่าย และเป็นการทบทวนโดยจะตัดเงื่อนไขที่จุกจิกเกินไปออก เพราะฉะนั้น อย่าหวังสูงกับบล็อคนี้จะครับ เน้นปฏิบัติครับ ไม่ใช่ทฤษฏี เน้นการใช้งาน ไม่ใช่เอาไปใช้ในห้องเรียนครับ และเป็นการเขียนสดๆ คือนึกอะไรได้ก็เขียน จึงอาจมีข้อตกหล่นอยู่บ้าง ต้องขออภัย และจะกลับมาเขียนเพิ่มเติมให้ทีหลังด้วยครับ
การอ่านภาษาอังกฤษให้รู้เรื่อง จำเป็นต้องรู้ว่า คำในประโยคนั้นๆ ทำหน้าที่อะไรในประโยค เพราะคำบางคำจะทำหน้าที่ขยายคำอื่น ไม่ใช่คำหลักๆ ในประโยค แต่คำบางคำทำหน้าที่หลักในประโยค จึงจำเป็นต่อการแปล
เริ่มจากชนิดของคำก่อนนะครับ
1. คำนาม (noun) คือ คน สัตว์ สิ่งของ (เริ่มต้นครับ เพราะมีอย่างอื่นด้วย เช่น คำที่ขึ้นต้นด้วย การ... ความ... แต่อย่าเพิ่งไปสนใจครับ)
2. คำกริยา (verb) อาการที่กระทำ คือ การเคลื่อนไหว เช่น วิ่ง เดิน จับ จาม ขโมย (นึกถึงภาษาไทยไว้ครับ ก็เหมือนคำกริยาในภาษาไทยนั่นแหละ)
3. คำคุณศัพท์ (adjective) หรือ adj. ถ้าเปิด dictionary เราจะเห็นต่อท้ายคำศัพท์ว่า (a) นั่นแหละครับ คำคุณศัพท์
เอาล่ะหวา..... คำไทยก็เรียกยาก อังกฤษยิ่งเรียกยากขึ้นไปใหญ่ มันคืออะไรเนี่ย
เอาเป็นว่า คำคุณศัพท์คือ คำที่ขยาย คำนาม ง่ายมั๊ย ว่าง่ายก็ง่าย ว่ายากก็ยิ่งยากกว่า (เพราะชนิดของมันเยอะมาก)
4. คำกริยาวิเศษณ์ (adverb) หรือ adv. คือ คำขยายคำกริยา
เ่อ่อ..... จำไว้ว่า คำคุณศัพท์ ขยายคำนาม คำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ขยายกริยา (adverb ต้องขยาย verb)
ขยายยังไง.....
adjective ขยายคำนาม ว่า คำนามนั้น มีลักษณะ สี ขนาด สวยงาม น่าเกลียดน่าชัง อย่างไร คือ เป็นคำอธิบายลักษณะของคำนามนั่นแหละครับ รวมถึงความรู้สึกด้วย เช่น เสียใจ ดีใจ กลุ้ม ประหม่า อะไรอย่างนี้เป็นต้น
ความรู้สึกเนี่ย เป็นคำคุณศัพท์นะครับ ไม่ใช่คำกริยา แยกแยะให้ออก เสียใจเป็นคำคุณศัพท์ ร้องไห้ เป็นกริยา ดีใจ เป็นคุณศัพท์ หัวเราะเป็นกริยา
adverb ขยายคำกริยา เช่น ร้องไห้ เป็นกริยา แล้วร้องไห้ เป็นยังไง ร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร หรือร้องไห้อย่างหนัก คำว่าอย่างหนัก เป็นคำ adverb คนเดิน เดินเร็ว เดินช้า
ลองดูนะครับ
เขาจับลูกแมวสีดำอย่างทุนถนอม
เขา (คำนาม) จับ (กริยา) ลูกแมว(คำนาม) สีดำ (adj. เพราะขยายลูกแมวว่ามีสีดำ) อย่างทุนถนอม (adv. เพราะขยายคำว่าจับ คือจับอย่างทนุถนอม)
เด็กผู้หญิงผมทองคนนั้น ร้องไห้ฟูมฟาย
เด็กผู้หญิง (n.) ผมทอง (adj. ขยายคำนามคือเด็กผู้หญิงมีผมทอง) ร้องไห้ (v.) ฟูมฟาย (adv. ขยายร้องไห้ ว่า ร้องอย่างฟูมฟาย)
แมวอ้วนจับหนูอย่างว่องไว
แมว (n.) อ้วน (adj. ขยายแมวว่าอ้วน) จับ (กริยา) หนู (n.) อย่างว่องไว (adv. ขยายคำว่าจับ คือ จับอย่างว่องไว)
ไอ้แมวลายตัวนั้นน่ะ จับหนูสีขาวได้ในตลาด เสร็จแล้วมันก็วางหนูลง เลียปากแผล่บๆ ด้วยความหิวกระหาย
แล้วก็ขยอกเข้าไปทีละนิดๆ (อึ๋ย ขนลุก)
หวาย... ยาวจัง
คำบางคำเป็นวลีขยายครับ เอาเฉพาะคำที่เราต้องการแยก ไม่ต้องแยกทุกคำ
แมว - n. / ลาย -adj / จับ - v. / มัน n. (จริงๆ แล้วมันเป็นคำสรรพนามครับ) /วาง - v. / หนู - n. / เลีย - v./ แผล่บๆ - adv. (ขยายคำว่าเลีย) / ขยอก (กลืน) -v. / ทีละนิด - adv. (ขยายคำว่าขยอก)
คำบางคำความหมายเป็นได้ทั้งคำคุณศัพท์และกริยาวิเศษณ์นะครับ ต้องอาศัยดูรูปประโยคเอา ว่างๆ ลองเอาประโยคใดประโยคหนึ่งในภาษาัอังกฤษมาแยกแยะดูก็ได้ครับว่า มีคำชนิดใดในประโยคบ้าง)
to be continued โปรดติดตามตอนต่อไปครับ ..............
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า เรื่องที่ผมเขียนอยู่นี้ ไม่ใช่เน้นตำราเท่าไหร่ เพราะการเน้นอย่างตำรา เราไปอ่านที่ไหนก็ได้ ทั้งในอินเตอร์เน็ตและในหนังสือ แต่ที่เขียนอยู่คือเน้นให้เข้าใจง่าย และเป็นการทบทวนโดยจะตัดเงื่อนไขที่จุกจิกเกินไปออก เพราะฉะนั้น อย่าหวังสูงกับบล็อคนี้จะครับ เน้นปฏิบัติครับ ไม่ใช่ทฤษฏี เน้นการใช้งาน ไม่ใช่เอาไปใช้ในห้องเรียนครับ และเป็นการเขียนสดๆ คือนึกอะไรได้ก็เขียน จึงอาจมีข้อตกหล่นอยู่บ้าง ต้องขออภัย และจะกลับมาเขียนเพิ่มเติมให้ทีหลังด้วยครับ
การอ่านภาษาอังกฤษให้รู้เรื่อง จำเป็นต้องรู้ว่า คำในประโยคนั้นๆ ทำหน้าที่อะไรในประโยค เพราะคำบางคำจะทำหน้าที่ขยายคำอื่น ไม่ใช่คำหลักๆ ในประโยค แต่คำบางคำทำหน้าที่หลักในประโยค จึงจำเป็นต่อการแปล
เริ่มจากชนิดของคำก่อนนะครับ
1. คำนาม (noun) คือ คน สัตว์ สิ่งของ (เริ่มต้นครับ เพราะมีอย่างอื่นด้วย เช่น คำที่ขึ้นต้นด้วย การ... ความ... แต่อย่าเพิ่งไปสนใจครับ)
2. คำกริยา (verb) อาการที่กระทำ คือ การเคลื่อนไหว เช่น วิ่ง เดิน จับ จาม ขโมย (นึกถึงภาษาไทยไว้ครับ ก็เหมือนคำกริยาในภาษาไทยนั่นแหละ)
3. คำคุณศัพท์ (adjective) หรือ adj. ถ้าเปิด dictionary เราจะเห็นต่อท้ายคำศัพท์ว่า (a) นั่นแหละครับ คำคุณศัพท์
เอาล่ะหวา..... คำไทยก็เรียกยาก อังกฤษยิ่งเรียกยากขึ้นไปใหญ่ มันคืออะไรเนี่ย
เอาเป็นว่า คำคุณศัพท์คือ คำที่ขยาย คำนาม ง่ายมั๊ย ว่าง่ายก็ง่าย ว่ายากก็ยิ่งยากกว่า (เพราะชนิดของมันเยอะมาก)
4. คำกริยาวิเศษณ์ (adverb) หรือ adv. คือ คำขยายคำกริยา
เ่อ่อ..... จำไว้ว่า คำคุณศัพท์ ขยายคำนาม คำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ขยายกริยา (adverb ต้องขยาย verb)
ขยายยังไง.....
adjective ขยายคำนาม ว่า คำนามนั้น มีลักษณะ สี ขนาด สวยงาม น่าเกลียดน่าชัง อย่างไร คือ เป็นคำอธิบายลักษณะของคำนามนั่นแหละครับ รวมถึงความรู้สึกด้วย เช่น เสียใจ ดีใจ กลุ้ม ประหม่า อะไรอย่างนี้เป็นต้น
ความรู้สึกเนี่ย เป็นคำคุณศัพท์นะครับ ไม่ใช่คำกริยา แยกแยะให้ออก เสียใจเป็นคำคุณศัพท์ ร้องไห้ เป็นกริยา ดีใจ เป็นคุณศัพท์ หัวเราะเป็นกริยา
adverb ขยายคำกริยา เช่น ร้องไห้ เป็นกริยา แล้วร้องไห้ เป็นยังไง ร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร หรือร้องไห้อย่างหนัก คำว่าอย่างหนัก เป็นคำ adverb คนเดิน เดินเร็ว เดินช้า
ลองดูนะครับ
เขาจับลูกแมวสีดำอย่างทุนถนอม
เขา (คำนาม) จับ (กริยา) ลูกแมว(คำนาม) สีดำ (adj. เพราะขยายลูกแมวว่ามีสีดำ) อย่างทุนถนอม (adv. เพราะขยายคำว่าจับ คือจับอย่างทนุถนอม)
เด็กผู้หญิงผมทองคนนั้น ร้องไห้ฟูมฟาย
เด็กผู้หญิง (n.) ผมทอง (adj. ขยายคำนามคือเด็กผู้หญิงมีผมทอง) ร้องไห้ (v.) ฟูมฟาย (adv. ขยายร้องไห้ ว่า ร้องอย่างฟูมฟาย)
แมวอ้วนจับหนูอย่างว่องไว
แมว (n.) อ้วน (adj. ขยายแมวว่าอ้วน) จับ (กริยา) หนู (n.) อย่างว่องไว (adv. ขยายคำว่าจับ คือ จับอย่างว่องไว)
ไอ้แมวลายตัวนั้นน่ะ จับหนูสีขาวได้ในตลาด เสร็จแล้วมันก็วางหนูลง เลียปากแผล่บๆ ด้วยความหิวกระหาย
แล้วก็ขยอกเข้าไปทีละนิดๆ (อึ๋ย ขนลุก)
หวาย... ยาวจัง
คำบางคำเป็นวลีขยายครับ เอาเฉพาะคำที่เราต้องการแยก ไม่ต้องแยกทุกคำ
แมว - n. / ลาย -adj / จับ - v. / มัน n. (จริงๆ แล้วมันเป็นคำสรรพนามครับ) /วาง - v. / หนู - n. / เลีย - v./ แผล่บๆ - adv. (ขยายคำว่าเลีย) / ขยอก (กลืน) -v. / ทีละนิด - adv. (ขยายคำว่าขยอก)
คำบางคำความหมายเป็นได้ทั้งคำคุณศัพท์และกริยาวิเศษณ์นะครับ ต้องอาศัยดูรูปประโยคเอา ว่างๆ ลองเอาประโยคใดประโยคหนึ่งในภาษาัอังกฤษมาแยกแยะดูก็ได้ครับว่า มีคำชนิดใดในประโยคบ้าง)
to be continued โปรดติดตามตอนต่อไปครับ ..............
วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
การใช้ a, an, the อย่างง่ายที่สุด
ทิ้งไปซะนานนะครับ สำหรับบล็อคนี้ จริงๆ แล้วบล็อคนี้ทำขึ้นเพื่อสนับสนุนบล็อค addenglish ในเรื่องไวยากรณ์น่ะครับ เพราะบล็อค addenglish เป็นบล็อคแปลข่าว ทำเพื่อแปลข่าวอย่างเดียว ถ้าเพิ่มไวยากรณ์ไปด้วยมันจะยาวเกินไปน่ะครับ เสียเวลาเขียน แล้วเหตุผลที่สำคัญที่สุดในการหยุดเขียนไปซะนานก็คือ ความขี้เกียจน่ะครับ แฮ่ะๆ
ตั้งแต่นี้สัญญาว่าจะเขียนไวยากรณ์ในบล็อคนี้ทุกอาทิตย์ครับ อย่างน้อยก็สองอาทิตย์ครั้ง..เอ้า.. ด้วยเกียรติของลูกเสือ
เนื้อหาอาจจะเคยเห็นมาเยอะ จากหนังสือเรียนและเว็บอื่นๆนะครับ แต่จะตัดเรื่องที่ยากต่อการจำออก และพยายามจะยกตัวอย่างที่ง่ายต่อความเข้าใจนะครับ เอาให้อ่านง่ายที่สุดแล้วกัน
a, an, the เขาเรียกกันว่า article นะครับ แต่ใช้ยังไงกันล่ะ
a กับ an แปลว่า หนึ่ง ถูกต้อง แล้วครับ (ใครๆ ก็รู้)
a อ่าน ว่า เอ หรือ อะ ก็ได้ (จริงๆแล้วไม่ใช่ออกเสียงอะ ตรงๆ แต่ออกเสียงว่า เออะ)
a, an ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นเอกพจน์ (ไม่ใช่วงศ์นาค) คือ ของที่มีอันเดียว, สิ่งเดียว (ไม่ใช่หลายสิ่ง..ก็ใช่)
a กับ an ใช้ต่างกันตรงที่ว่า a ใช้นำหน้าคำนามที่นำหน้าด้วยพยัญชนะทั่วไป ตั้งแต่ b ถึง z ยกเว้น a,e,i,o,u
anใช้นำหน้าคำนามที่นำหน้าด้วยสระในภาษาอังกฤษ คือ e,a,i,o,u
เช่น a cat แมวตัวหนึ่ง (แหม เหมือนสอนเด็กอนุบาลเลย แต่พยายามอ่านหน่อยนะครับ อย่าคิดว่าสอนเด็กเลย ผู้ใหญ่บางคนก็นึกไม่ถึงเหมือนกันว่าพวกนี้ใช้ยังไง เพราะมันมีข้อยกเว้นน่ะครับ)
a dog a pencil a plane
an umbrella an ox an orange
สังเกตดูนะครับว่า สระในภาษาอังกฤษจะออกเสียงเป็น อ.อ่าง อัมเบร้ลหล่ะ อ๊อกซ์ ออ-เร้นจ์
แต่ถ้า university ล่ะครับ U เป็นสระเหมือนกัน แต่ไม่ยักกะออกเสียงอ.อ่าง กลับออกเสียงย.ยักษ์ คือ ยูนิเว้อซิถี่ หรือ unit ที่แปลว่าหน่วย, ห้อง ออกเสียงว่า ยู-หนิท
คำเหล่านี้ ถ้าไม่ได้ออกเสียง อ.อ่าง ต่อให้ขึ้นต้นด้วยสระ ก็ให้ใช้ a นะครับ
ว่ากันถึงเรื่อง The นะครับ (article อย่างหนึ่งเหมือนกัน)
The ใช้ยังไง ..... ใช้นำหน้าคำนามน่ะซีครับ...
ถูกต้อง........... พูดอีกก็ถูกอิฐ....................
แต่มันมีกฎอย่างนี้นะครับ (เอาง่ายๆ นะ ไม่ต้องมีข้อ 1,2,3 มันยาวไป)
The ใช้นำหน้าคำนามที่เราต้องการเน้นมากกว่า a, an น่ะครับ
ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
A cat is in the toilet. แมวอยู่ในส้วม
กับ
The cat is in the toilet. แมวอยู่ในส้วม
อ้าว.. เหมือนกันนี่หว่า..แล้วมันต่างกันตรงไหน
A cat หมายถึงแมวทั่วไปที่เราไม่ได้เจาะจงว่าเป็นตัวไหนไงครับ คือ มีแมวตัวหนึ่ง (ตัวไหนก็ไม่รู้ อยู่ในส้วม) แต่ถ้า The cat คือ อ๋อ.. ไอ้แมวตัวนั้น (ตัวที่เรารู้จัก อาจเป็น ไอ้หง่าว ไอ้หลุยส์ นังสมชาย มันอยู่ในส้วม) คือเป็นการเน้นเฉพาะไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่านะครับ
ถ้าเราต้องแต่งประโยคยาวๆ สักสองประโยค (เท่านี้ก็ยาวแล้วสำหรับคนไทย) หรือหลายประโยค ยกตัวอย่าง
A dog is biting that boy. A dog is black.
ประโยคแรก หมาตัวหนึ่งกำลังกัดเด็กคนนั้น ประโยคที่สองคือ หมาสีดำ คือมาขยายประโยคข้างหน้าว่า หมาตัวนั้นสีดำ เพราะฉะนั้น ยกตัวอย่างประโยคนี้ ผิด
ถ้าเราไม่ได้ใช้คำสรรพนาม it แทน ในประโยคต่อไป เราไม่ต้องใช้ a แล้วนะครับ ให้ใช้ the ได้เลย คือ
A dog is biting that boy. The dog is black
เป็นการเน้นถึงหมาตัวแรกน่ะครับ ประโยคนี้ถูก
อีกประการหนึ่ง
The ใช้กับสิ่งที่มีอันเดียวในโลก หรือ สิ่งที่ใหญ่ๆ ทางภูมิศาสตร์ ครับเช่น
The sky The sea The ocean The sun The moon
เราไม่ใช่ a sky a sea นะครับ
******************************************************************
ตั้งแต่นี้สัญญาว่าจะเขียนไวยากรณ์ในบล็อคนี้ทุกอาทิตย์ครับ อย่างน้อยก็สองอาทิตย์ครั้ง..เอ้า.. ด้วยเกียรติของลูกเสือ
เนื้อหาอาจจะเคยเห็นมาเยอะ จากหนังสือเรียนและเว็บอื่นๆนะครับ แต่จะตัดเรื่องที่ยากต่อการจำออก และพยายามจะยกตัวอย่างที่ง่ายต่อความเข้าใจนะครับ เอาให้อ่านง่ายที่สุดแล้วกัน
a, an, the เขาเรียกกันว่า article นะครับ แต่ใช้ยังไงกันล่ะ
a กับ an แปลว่า หนึ่ง ถูกต้อง แล้วครับ (ใครๆ ก็รู้)
a อ่าน ว่า เอ หรือ อะ ก็ได้ (จริงๆแล้วไม่ใช่ออกเสียงอะ ตรงๆ แต่ออกเสียงว่า เออะ)
a, an ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นเอกพจน์ (ไม่ใช่วงศ์นาค) คือ ของที่มีอันเดียว, สิ่งเดียว (ไม่ใช่หลายสิ่ง..ก็ใช่)
a กับ an ใช้ต่างกันตรงที่ว่า a ใช้นำหน้าคำนามที่นำหน้าด้วยพยัญชนะทั่วไป ตั้งแต่ b ถึง z ยกเว้น a,e,i,o,u
anใช้นำหน้าคำนามที่นำหน้าด้วยสระในภาษาอังกฤษ คือ e,a,i,o,u
เช่น a cat แมวตัวหนึ่ง (แหม เหมือนสอนเด็กอนุบาลเลย แต่พยายามอ่านหน่อยนะครับ อย่าคิดว่าสอนเด็กเลย ผู้ใหญ่บางคนก็นึกไม่ถึงเหมือนกันว่าพวกนี้ใช้ยังไง เพราะมันมีข้อยกเว้นน่ะครับ)
a dog a pencil a plane
an umbrella an ox an orange
สังเกตดูนะครับว่า สระในภาษาอังกฤษจะออกเสียงเป็น อ.อ่าง อัมเบร้ลหล่ะ อ๊อกซ์ ออ-เร้นจ์
แต่ถ้า university ล่ะครับ U เป็นสระเหมือนกัน แต่ไม่ยักกะออกเสียงอ.อ่าง กลับออกเสียงย.ยักษ์ คือ ยูนิเว้อซิถี่ หรือ unit ที่แปลว่าหน่วย, ห้อง ออกเสียงว่า ยู-หนิท
คำเหล่านี้ ถ้าไม่ได้ออกเสียง อ.อ่าง ต่อให้ขึ้นต้นด้วยสระ ก็ให้ใช้ a นะครับ
ว่ากันถึงเรื่อง The นะครับ (article อย่างหนึ่งเหมือนกัน)
The ใช้ยังไง ..... ใช้นำหน้าคำนามน่ะซีครับ...
ถูกต้อง........... พูดอีกก็ถูกอิฐ....................
แต่มันมีกฎอย่างนี้นะครับ (เอาง่ายๆ นะ ไม่ต้องมีข้อ 1,2,3 มันยาวไป)
The ใช้นำหน้าคำนามที่เราต้องการเน้นมากกว่า a, an น่ะครับ
ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
A cat is in the toilet. แมวอยู่ในส้วม
กับ
The cat is in the toilet. แมวอยู่ในส้วม
อ้าว.. เหมือนกันนี่หว่า..แล้วมันต่างกันตรงไหน
A cat หมายถึงแมวทั่วไปที่เราไม่ได้เจาะจงว่าเป็นตัวไหนไงครับ คือ มีแมวตัวหนึ่ง (ตัวไหนก็ไม่รู้ อยู่ในส้วม) แต่ถ้า The cat คือ อ๋อ.. ไอ้แมวตัวนั้น (ตัวที่เรารู้จัก อาจเป็น ไอ้หง่าว ไอ้หลุยส์ นังสมชาย มันอยู่ในส้วม) คือเป็นการเน้นเฉพาะไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่านะครับ
ถ้าเราต้องแต่งประโยคยาวๆ สักสองประโยค (เท่านี้ก็ยาวแล้วสำหรับคนไทย) หรือหลายประโยค ยกตัวอย่าง
A dog is biting that boy. A dog is black.
ประโยคแรก หมาตัวหนึ่งกำลังกัดเด็กคนนั้น ประโยคที่สองคือ หมาสีดำ คือมาขยายประโยคข้างหน้าว่า หมาตัวนั้นสีดำ เพราะฉะนั้น ยกตัวอย่างประโยคนี้ ผิด
ถ้าเราไม่ได้ใช้คำสรรพนาม it แทน ในประโยคต่อไป เราไม่ต้องใช้ a แล้วนะครับ ให้ใช้ the ได้เลย คือ
A dog is biting that boy. The dog is black
เป็นการเน้นถึงหมาตัวแรกน่ะครับ ประโยคนี้ถูก
อีกประการหนึ่ง
The ใช้กับสิ่งที่มีอันเดียวในโลก หรือ สิ่งที่ใหญ่ๆ ทางภูมิศาสตร์ ครับเช่น
The sky The sea The ocean The sun The moon
เราไม่ใช่ a sky a sea นะครับ
******************************************************************
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552
การออกเสียงในภาษาอังกฤษ (เพิ่มอีกหน่อย
เรื่องการออกเสียงในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำที่คนไทยเอามาพูดแล้วติดปากกันไปเลย เลยกลายเป็นภาษาพื้นฐานของคนไทยไป อย่างเช่น Merry Christmas คนไทยชอบพูดว่า เมอรี่ คริสต์มาส ซึ่งผิดนะครับ Merry จริงแล้วต้องออกเสียงว่า เม้-หริ ไม่ใช่ เมอรี่ Mer อ่านว่า เม Ferry ที่แปลว่าเรือใหญ่ อ่านว่า เฟ-หริ ไม่ใช่ เฟอรี่ แล้ว ry ออกเสียงว่า หริ นะครับ ไม่ใช่รี่ terry (อย่างเช่น John Terry คนไทยออกเสียงว่า จอห์น เทอรี่ จริงแล้วออกเสียงว่า เท-หริ) อย่าลืมนะครับ ry ออกเสียงสั้น หริ ไม่ใช่ยาว รี่
คำ ที่ลงท้ายด้วย er เหมือนกันครับ จะออกเสียงสระเออะ ไม่ใช่สระเ้อ้อ writer ไม่ใช่ ไร้-เตอร์ แต่ออกเสียงว่า ไร้-เถอะ คือออกเสียงนิดเดียวครับ player ไม่ใช่ เพล-เย่อ แต่เป็น เพล้-ย-เออะ (ออกเสียงเพลยก่อนแล้วตามด้วย เออะ)
ตัวสะกดที่ลงท้ายด้วย ng ใ้ห้ออกเสียง ง.งู เช่น singer ออกเสียงว่า ซิ้ง-เหง่อ ไม่ใช่ ซิงเกอร์
มาถึงที่ขึ้นต้นด้วย ass all app acc abb
เช่น assume assumption assure ให้ออกเสียงตัวแรกเป็น อะ หรือ เออะ เช่น อะ-ซยูม อะ-ซั้ม-ชึ่น อะ-ชัวร์ ไม่ใช่ แอ้ซ-ซูม แอ้ซ-ซัม-ชั่น แอช-ชัวร์
allege ที่แปลว่า กล่าวหา ออกเสียว่า อะ-เลจ-ฉึ ไม่ใช่อัลเลจ
apply ออกเสียงว่า อะ-พลาย หรือ เออะ-พลาย ไม่ใช่ แอ็พพลายนะครับ ออกเสียงกันผิดมากเลย แต่ apple อย่าออกเสียงว่า อะ-พึ่ล นะครับ แต่ฝรั่งเขาออกเสียงว่า แอ๊พ-ผึ่ล (อ้าว.. งงตาย) คือ ทุกอย่างย่อมมีข้อยกเว้นครับ อยากรู้ว่าเขาออกเสียงยังไง ต้องฟังฝรั่งพูดเองน่ะครับ ผมสอนนำทางเฉยๆ)
abbreviate แปลว่า อักษรย่อ ออกเสียงว่า เออะ-บรี-วี-อีท ไม่ใช่แอ่บ-บรี-วี-เอท
ทีนี้ก็พอรู้แนวทางกันบ้างแล้วนะครับ
อ้อ.. คำที่ประเภทลงท้ายด้วยตัว g ด้วย เช่น dog bag คำนี้ คนไทยอ่านว่า ด็อก แบ๊ค ซึ่งมันจะไปสับสนกับคำว่า dock back จริงๆแล้ว มันจะอ่านว่า ด่อก แบ่ค แล้วออกเสียงยาว คือให้เขียนให้ตายก็เขียนไม่ได้เพราะภาษาไทยมันไม่มีการเขียนให้ออกเสียงยัง งี้ เอางี้ เทียบกับคำว่า วอก (ที่แปลว่าลิง) คือเทียบกับคำว่าวอก (โอย..จะบ้าตาย) แล้วก็คำว่า bag ไม่ได้ออกเสียงว่า แบ๊ค แต่ให้เทียบกับคำว่า แวก (ละ-แวก) คือมันจะขึ้นเสียงสูงมานิดนึงแล้วลากลงต่ำ ออกเสียงยาวนิดนึงครับ
ผมว่าถ้าเขียนต่อไป ไม่ผมก็คนอ่านจะต้องบ้าตาย จริงๆแล้ว มันมีเว็บไซต์นะครับ ถ้าอยากรู้จริงๆ เว็บนี้เลยครับ http://www.howjsay.com จะหาว่าคำไหนออกเสียงยังไง ก็พิมพ์ลงไปแล้วฟังเขาออกเสียงเลยครับ
ขอตัวไปกินยาแก้ปวดหัวก่อน..เอิ๊ก..
คำ ที่ลงท้ายด้วย er เหมือนกันครับ จะออกเสียงสระเออะ ไม่ใช่สระเ้อ้อ writer ไม่ใช่ ไร้-เตอร์ แต่ออกเสียงว่า ไร้-เถอะ คือออกเสียงนิดเดียวครับ player ไม่ใช่ เพล-เย่อ แต่เป็น เพล้-ย-เออะ (ออกเสียงเพลยก่อนแล้วตามด้วย เออะ)
ตัวสะกดที่ลงท้ายด้วย ng ใ้ห้ออกเสียง ง.งู เช่น singer ออกเสียงว่า ซิ้ง-เหง่อ ไม่ใช่ ซิงเกอร์
มาถึงที่ขึ้นต้นด้วย ass all app acc abb
เช่น assume assumption assure ให้ออกเสียงตัวแรกเป็น อะ หรือ เออะ เช่น อะ-ซยูม อะ-ซั้ม-ชึ่น อะ-ชัวร์ ไม่ใช่ แอ้ซ-ซูม แอ้ซ-ซัม-ชั่น แอช-ชัวร์
allege ที่แปลว่า กล่าวหา ออกเสียว่า อะ-เลจ-ฉึ ไม่ใช่อัลเลจ
apply ออกเสียงว่า อะ-พลาย หรือ เออะ-พลาย ไม่ใช่ แอ็พพลายนะครับ ออกเสียงกันผิดมากเลย แต่ apple อย่าออกเสียงว่า อะ-พึ่ล นะครับ แต่ฝรั่งเขาออกเสียงว่า แอ๊พ-ผึ่ล (อ้าว.. งงตาย) คือ ทุกอย่างย่อมมีข้อยกเว้นครับ อยากรู้ว่าเขาออกเสียงยังไง ต้องฟังฝรั่งพูดเองน่ะครับ ผมสอนนำทางเฉยๆ)
abbreviate แปลว่า อักษรย่อ ออกเสียงว่า เออะ-บรี-วี-อีท ไม่ใช่แอ่บ-บรี-วี-เอท
ทีนี้ก็พอรู้แนวทางกันบ้างแล้วนะครับ
อ้อ.. คำที่ประเภทลงท้ายด้วยตัว g ด้วย เช่น dog bag คำนี้ คนไทยอ่านว่า ด็อก แบ๊ค ซึ่งมันจะไปสับสนกับคำว่า dock back จริงๆแล้ว มันจะอ่านว่า ด่อก แบ่ค แล้วออกเสียงยาว คือให้เขียนให้ตายก็เขียนไม่ได้เพราะภาษาไทยมันไม่มีการเขียนให้ออกเสียงยัง งี้ เอางี้ เทียบกับคำว่า วอก (ที่แปลว่าลิง) คือเทียบกับคำว่าวอก (โอย..จะบ้าตาย) แล้วก็คำว่า bag ไม่ได้ออกเสียงว่า แบ๊ค แต่ให้เทียบกับคำว่า แวก (ละ-แวก) คือมันจะขึ้นเสียงสูงมานิดนึงแล้วลากลงต่ำ ออกเสียงยาวนิดนึงครับ
ผมว่าถ้าเขียนต่อไป ไม่ผมก็คนอ่านจะต้องบ้าตาย จริงๆแล้ว มันมีเว็บไซต์นะครับ ถ้าอยากรู้จริงๆ เว็บนี้เลยครับ http://www.howjsay.com จะหาว่าคำไหนออกเสียงยังไง ก็พิมพ์ลงไปแล้วฟังเขาออกเสียงเลยครับ
ขอตัวไปกินยาแก้ปวดหัวก่อน..เอิ๊ก..
วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
การทำคำกริยาให้เป็นคำขยายคำนาม (คำคุณศัพท์หรือadjective)
การทำคำกริยาให้เป็นคำขยายคำนาม (คำคุณศัพท์ หรือ adjective)
ต้องอธิบายความหมายและหน้าที่ของคำ adjective ก่อนนะครับว่า เป็นคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม อาจบอกถึง ลักษณะ สี ขาวดำต่ำสูง จำนวน และอื่นๆที่เป็นคำบอกลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของนั่นแหละครับ (ในที่นี้จะไม่บอกละเอียดนะครับ เพราะเดี๋ยวจะหมดสนุกและจะงง) เช่น แมว--ดำ (คำว่า ดำ เป็นคุณศัพท์ หรือ adjective) หมา 9 ตัว (คำว่า เก้าตัว เป็นคำคุณศัพท์เพราะขยายหมาว่ามีเก้าตัว) ภูเขาสูง (คำว่า สูง เป็น คุณศัพท์ เพราะขยายภูเขา) เขา-เสียใจ (คำว่าเสียใจ บอกอารมณ์ของคน เป็น คุณศัพท์)
ตำแหน่งของคำคุณศัพท์ในประโยค
1. วางไว้หลังคำนาม โดยต้องมี V.to be มาไว้ระหว่างคำนามกับคุณศัพท์ He is sad. The cat is black.
2. วางไว้หน้าคำนาม เช่น The black cat The sad man. The white dog.
ในประโยคภาษาอังกฤษ อาจมีการทำคำกริยาให้เป็นคำคุณศัพท์ด้วย (ก็ไม่อธิบายละเอียดอีกนั่นแหละ คือพอให้รู้นะครับ) โดยการเติม en เข้าไปข้างหลังคำกริยาแล้วโยกเอามาไว้ข้างหน้าคำนาม (ตามหลักตำแหน่งของคำคุณศัพท์นั่นแหละ หรือ เติม ed หรือเปลี่ยนรูปนิดหน่อย (การเปลี่ยนรูปต้องไปศึกษาเอาเองครับ บางทีหลักการเติม ed ต้องไปศึกษาเรื่องกริยาสามช่องนะครับ คือการเปลี่ยนกริยาให้เป็นกริยาช่องที่สาม พูดอีกอย่างพวกเนี๊ยะ มันจะไปสัมพันธ์กับ passive voice เหมือนกัน) ยิ่งพูด..ยิ่งงง เราเอาแค่เติม en กับ ed ก็พอนะครับ เช่น
The bicycle was stolen (เป็น passive voice อีกแล้ว เห็นไหมครับ) จักรยานถูกขโมย
เราต้องการที่จะนำ V. มาให้เป็นคำขยายคำนามก็คือเอา stolen มาไว้ที่หน้าคำนาม คือ The stolen bicycle แปลว่า จักยานที่ถูกขโมย
หรือ The car is broken. รถยนต์เสีย (รถยนต์เสียเองไม่ได้ มันต้องถูกทำให้เสีย จึงใช้ passive voice อีกแล้ว) ทำให้มาขยายคำนามเสียก็เป็น The broken car (ไม่ใช่ the broke car) แปลว่า รถที่ (ถูกทำให้) เสีย The line is twisted. เส้นถูกทำให้บิดๆ เบี้ยวๆ เป็น The twisted line เส้นที่ (ถูกทำให้) บิดๆ เบี้ยวๆ
ดังตัวอย่างนะครับ The westerner was beheaded (เป็น V.behead แปลว่าตัดหัว เป็น passive voice โดยการเติม V.to be เข้าไปแล้ว กริยาเปลี่ยนเป็นช่องที่สาม แปลว่าถูกตัดหัว) ทำให้มาขยายคำนามเสียโดยทำรูปประโยคเป็น The beheaded westerner แปลว่า ฝรั่งที่ถูกตัดหัว..ครับ)
ต้องอธิบายความหมายและหน้าที่ของคำ adjective ก่อนนะครับว่า เป็นคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม อาจบอกถึง ลักษณะ สี ขาวดำต่ำสูง จำนวน และอื่นๆที่เป็นคำบอกลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของนั่นแหละครับ (ในที่นี้จะไม่บอกละเอียดนะครับ เพราะเดี๋ยวจะหมดสนุกและจะงง) เช่น แมว--ดำ (คำว่า ดำ เป็นคุณศัพท์ หรือ adjective) หมา 9 ตัว (คำว่า เก้าตัว เป็นคำคุณศัพท์เพราะขยายหมาว่ามีเก้าตัว) ภูเขาสูง (คำว่า สูง เป็น คุณศัพท์ เพราะขยายภูเขา) เขา-เสียใจ (คำว่าเสียใจ บอกอารมณ์ของคน เป็น คุณศัพท์)
ตำแหน่งของคำคุณศัพท์ในประโยค
1. วางไว้หลังคำนาม โดยต้องมี V.to be มาไว้ระหว่างคำนามกับคุณศัพท์ He is sad. The cat is black.
2. วางไว้หน้าคำนาม เช่น The black cat The sad man. The white dog.
ในประโยคภาษาอังกฤษ อาจมีการทำคำกริยาให้เป็นคำคุณศัพท์ด้วย (ก็ไม่อธิบายละเอียดอีกนั่นแหละ คือพอให้รู้นะครับ) โดยการเติม en เข้าไปข้างหลังคำกริยาแล้วโยกเอามาไว้ข้างหน้าคำนาม (ตามหลักตำแหน่งของคำคุณศัพท์นั่นแหละ หรือ เติม ed หรือเปลี่ยนรูปนิดหน่อย (การเปลี่ยนรูปต้องไปศึกษาเอาเองครับ บางทีหลักการเติม ed ต้องไปศึกษาเรื่องกริยาสามช่องนะครับ คือการเปลี่ยนกริยาให้เป็นกริยาช่องที่สาม พูดอีกอย่างพวกเนี๊ยะ มันจะไปสัมพันธ์กับ passive voice เหมือนกัน) ยิ่งพูด..ยิ่งงง เราเอาแค่เติม en กับ ed ก็พอนะครับ เช่น
The bicycle was stolen (เป็น passive voice อีกแล้ว เห็นไหมครับ) จักรยานถูกขโมย
เราต้องการที่จะนำ V. มาให้เป็นคำขยายคำนามก็คือเอา stolen มาไว้ที่หน้าคำนาม คือ The stolen bicycle แปลว่า จักยานที่ถูกขโมย
หรือ The car is broken. รถยนต์เสีย (รถยนต์เสียเองไม่ได้ มันต้องถูกทำให้เสีย จึงใช้ passive voice อีกแล้ว) ทำให้มาขยายคำนามเสียก็เป็น The broken car (ไม่ใช่ the broke car) แปลว่า รถที่ (ถูกทำให้) เสีย The line is twisted. เส้นถูกทำให้บิดๆ เบี้ยวๆ เป็น The twisted line เส้นที่ (ถูกทำให้) บิดๆ เบี้ยวๆ
ดังตัวอย่างนะครับ The westerner was beheaded (เป็น V.behead แปลว่าตัดหัว เป็น passive voice โดยการเติม V.to be เข้าไปแล้ว กริยาเปลี่ยนเป็นช่องที่สาม แปลว่าถูกตัดหัว) ทำให้มาขยายคำนามเสียโดยทำรูปประโยคเป็น The beheaded westerner แปลว่า ฝรั่งที่ถูกตัดหัว..ครับ)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)