วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เรื่องของTense กาล, เวลา

หลังจากเบี้ยวมาสองสัปดาห์ครับ ...แฮ่ะ
มาเข้าเรื่อง Tense กันตามสัญญา (ที่ล่าช้า) กันแล้วกันนะ

ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียนในภาษาอังกฤษ Tense หรือ เรื่อง เวลา "กาล" เป็นเรื่องสำำคัญทีเดียว ต้องให้ความสำคัญกับมันหน่อยนะครับ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

ยกตัวอย่างนะครับ เขาตีแมว

He runs. เขาวิ่ง (ไม่ได้ระบุเวลา แต่รู้ว่าเขาวิ่ง อาจวิ่งเป็นประจำ) เป็น present tense
He ran เขาวิ่ง (เขาวิ่งไปแล้ว คือ วิ่งไปไหนแล้วก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าวิ่งไปแล้ว ..งงมั๊ย) เป็น past tense
He is running (กขากำลังวิ่งอยู่เลย)
He will run. (เขาจะวิ่ง แต่ยังไม่ได้วิ่ง)
เอาแค่นี้พอ.... ถ้าเราพูดคำว่า He runs อย่างเดียว จะไม่สามารถบอกได้เลยว่า เขาทำมันตอนไหน สำคัญใช่ไหมครับ

Tense ในภาษาอังกฤษ มีมากกว่า 6 Tense หลักๆ ที่เราเรียนกันอยู่คือ present tense (ปัจจุบัน) past tense (อดีต) future tense (อนาคต) present continuous tense ( กำลังกระทำอยู่) present continuous tense, past continuous tense โอย..เยอะแยะตาแป๊ะเก็บเห็ด.....

ในการเรียนการสอน.. เราต้องจำให้หมด (แค่ 6 tense ก็ปวดเฮดแล้วครับ ไม่ถึงต้องจำเยอะกว่านั้นร๊อก) แต่ในการพูดจริงๆ หลักๆนะครับ จำแค่ 4 tense ก็พอคือ (แต่ถ้าเอาไว้สอบ ก็ต้องจำให้มันเยอะๆ)

1. Present Tense ปัจจุบันกาล
2. Past Tense อดีตกาล
3. Future Tense อนาคตกาล
4. Present Continuous Tense กาลที่กำลังกระทำอยู่

อันนี้ต้องทยอยพูดถึงที่ละอย่างนะครับ ขืนบอกหมดในทีเดียว คงได้หัวโตกันมั่ง......................

Present Simple Tense ใช้ยังไง
(อ้าว.. เพิ่ม simple มาได้ยังไง จริงๆแล้วมันเป็นสาขาย่อยของ Present Tense น่ะครับ ในที่นี้ให้เข้าใจเอาว่า เป็น Present Simple Tense ก็แล้วกันนะครับ)

Present Tense ใช้ง่ายครับ (อ้าว.. ตอบแบบกำปั้นทุบดินนี่หว่า) เป็นปัจจุบันกาลใช้กับ
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ
3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติ
4. เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น...ง่า... นึกไม่ออกครับ เอาไว้ถ้านึกได้แล้วจะมาบอก
5. เอาง่ายๆคือ มันไม่ใช่อดีต หรืออนาคต หรือกำลังกระทำอยู่ ก็ใช้ Present Simple Tense แล้วกัน

จำได้แล้วว่า ใช้ยังไงก็ค่อยมาจำรูปแบบของมันนะครับ
ประธาน + กริยาช่องที่ 1 ง่ายสุดเลยใช่ไหมเล่า
ที่นี้ มันก็ไปสัมพันธ์กับประธานนะครับ จำเป็นมากๆ คือ
ประธานเอกพจน์ (หน่วยเดียว) กริยาเติม S
ประธานพหูพจน์ (หลายหน่วย) กริยาไม่ต้องเติม S

แค่นั้นเอง (จริงๆแล้ว คิดว่าคงเรียนมาแล้วล่ะครับ แต่เน้นเพื่อความเข้าใจอีกที คือเรียนมาแต่ไม่ได้ใช้ไง พอเวลาพูดหรือเขียน จะมีสักกี่คนใส่ใจเติม S ที่กริยาเอกพจน์)

1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และทำอย่างสม่ำเสมอ
เช่น He goes to school. แปลว่าเขาไปโรงเรียน (ทีนี้ เราจะใ่ส่คำว่า every day หรือ always เข้าไปในประโยคเพื่อเน้นก็แล้วแต่ แต่ให้รู้ว่าเขาไปโรงเรียนแล้วกัน)

2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
เช่น The sun rises at 6.00 am.
พระอาทิตย์ขึ้นทุกวัน The wind blows ลมพัด มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเราก็พูดลอยๆ เหตุการณ์เหล่านี้จึงใช้เป็น Present Simple Tense ได้ครับ

มันมีคำที่บ่งบอกว่า ประโยคนี้เป็นการกระทำโดยสม่ำเสมอ โดยเติมไปในประโยค ทำให้รู้ว่าประโยคนี้ต้องเป็น present simple แหง๋ๆ
คำนั้นทำหน้าที่เป็น Adverb of Frequency ครับ เช่น always (เสมอๆ) sometimes (บางครั้ง)
หรือ ทำหน้าที่เป็น Adverb of Time เช่น every day, every month, every year ซึ่งตรงนี้ผมยังไม่เน้นนะครับ เดี๋ยวจะงงหนักไปกันใหญ่ เอาง่ายๆแค่นี้ก่อน

อาทิตย์หน้ามาต่อเรื่อง past tense กันครับ

*************************************************************

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หน้าที่ของคำในภาษาอังกฤษ (ภาคต่อ)

5. คำสันธาน (conjuction) เป็นคำที่ใช้เชื่อมคำต่อคำ ประโยคต่อประโยค เช่น

and or but then so therefore etc. เป็นคำที่เติมเต็มประโยคให้สมบูรณ์
Jatuporn and Veera go shopping. จตุพรและวีระไปชอปปิ้งกัน (กระหนุงกระหนิง)
Do you want tea or coffee? คุณต้องการชาหรือกาแฟคะ
He has to go to the market, then he goes to the the bank. เขาต้องไปที่ตลาด แล้วเขาจึงไปที่สวนสัตว์
He works hard, so he is rich. เขาทำงานหนัก ดังนั้น เขาจึงรวย

คำที่เชื่อมคำต่อคำ อาจเป็นคำนามกับคำนาม ส่วนใหญ่จะใส่ conj. (สันธาน) ไว้ระหว่างคำเลย เช่น you and me, me or that girl.

แต่คำที่เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค มีบางคำที่จะต้องใส่ comma (,) ไว้คั่นประโยคด้วยนะครับ เป็นส่วนใหญ่

คำ conjunction (สันธาน) จะมีหลายคำครับ เช่น although, even though, because, since, when, while
เยอะแยะครับ แต่ก็ละไ้ว้ในฐานที่เข้าใจ

6. คำบุรพบท (preposition) คือ คำบอกสถานที่ เช่น in, on , under, to, inside, into, near (ง่ายไปไหมเนี่ย) ประมาณนี้ บางครั้ง คำบุรพบท (หรือบุพบทก็ไม่รู้ ถ้าผิดขออภัย) ก็ไม่ใช่คำบอกสถานที่อย่างเดียวนะครับ (อ้าว! กลับกลอกนี่หว่า) ง่ายๆ น่ะครับ คือ บอกสถานที่ แต่คำบุพบทนี้มีหน้าที่เยอะมาก มีทั้งหมดร้อยกว่าคำ (ใครจำได้ก็เก่ง)
โดยหลักๆ คำบุพบทคือบอกสถานที่และมีอีกอย่างคือ ตามหลังคำกริยา ไอ้ตัวนี่แหละครับ ที่ทำให้ปวดหัว ฝรั่งเขาเรียก phrasal verb (จริงๆเรียกกันทั่วโลก) เอาแค่ยกตัวอย่างก็มึนแล้ว

เช่น คำกริยา ว่า look แปลว่า มองดู ถ้าเติมคำบุพบทเหล่านี้เข้าไป ดูซิว่าเป็นยังไง

look into แปลว่า ตรวจอย่างละเอียด
look down ดูถูก ดูหมิ่น
look for ค้นหา
look out ระวัง
look after ดูแล

สรุปแล้ว ยังมีอีก 10 กว่าลุคนะครับ ขี้เกียจสาธยาย สรุปอีกที ถ้าเจอพวกนี้ ต้องอาศัย dictionary อย่างเดียวเลยครับ แต่ถ้าจะพกติดตัว dictionary ถ้าจะให้ละเอียดมันต้องพกอย่างพันกว่าหน้า หลังอานแน่ๆ เอาง่ายๆ จะไปไหนมาไหน พก dictionary เล่มเล็กๆ หนึ่งเล่ม หนังสือ phrasal verb หนึ่งเล่มและ กริยาสามช่อง อีกหนึ่งเล่ม จะเข้าท่ากว่า

อ่ะ สุดท้ายแล้ว
7. คำอุทาน ง่ายสุดแล้ว คืออุทานน่ะแหละ อุ๊ยตาย ว๊าย กรี๊ด โอว พระเจ้า อะไรทำนองเนี๊ย

well, แปลว่า เ้อ่อ หรือใช้สำหรับเปลี่ยนเรื่องพูด
oh หรือ Oh my god หรือ Oh my god หรือ Oh, my lord หรือ My goodness ก็ไม่ว่ากัน รู้ความหมายกันอยู่แล้วครับ
ก็หัดจำโดยการดูหนังฝรั่งหรือฟังข่าวฝรั่งเยอะๆ น่ะครับ ฝรั่งชอบอุทาน คนไทยก็เลยชอบอุทานตามฝรั่ง

หมดแล้วครับ เรื่องหน้าที่ของคำ วันหลังว่าจะเขียนเรื่อง tense น่ะครับ (ถ้าไม่เปลี่ยนใจซะก่อน) ถ้ามีสิ่งใดตกหล่นก็ขออภัย เพราะไม่ได้เขียนเป็นวิชาการน่ะครับ ถ้ามีอะไรจะเสริม ก็ค่อยมาเสริมวันหลังแล้วกัน

******************************************